ข้อกำหนด ISO 14001 : 2015 ระบบบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมโครงสร้างข้อกำหนด
ข้อ 0 บทนำ, ข้อ 1 ขอบข่าย, ข้อ 2 อ้างอิง, ข้อ 3 นิยาม และ คำจำกัดความ
ข้อ 4 บริบทขององค์กร
ข้อ 5 ภาวะผู้นำ
ข้อ 6 การวางแผน
ข้อ 7 การสนับสนุน
ข้อ 8 การดำเนินการ
ข้อ 9 การประเมินสมรรถนะ
ข้อ 10 การปรับปรุง
ข้อกำหนด ข้อ 4. บริบทขององค์กร
4.1 บริบทขององค์กร
การทำความเข้าใจกับองค์กรและบริบทขององค์กร องค์กรต้องกำหนดประเด็นภายนอกและภายในที่เกี่ยวข้องกับจุดมุ่งหมายขององค์กร และมีผลกระทบกับความสามารถขององค์กรในการที่จะทำให้บรรลุผลตามที่ต้องการของระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมขององค์กร ประเด็นเหล่านี้ต้องรวมถึงสภาวะแวดล้อมที่มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบกับองค์กร
👉องค์กร ต้อง พิจารณามุมมองภายใน และภายนอกที่สัมพันธ์กับกับวัตถุประสงค์และทิศทางเชิงกลยุทธ์ รวมถึงความสามารถที่จะบรรลุผลลัพธ์จากระบบการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม
👉ต้อง รวมถึงสภาพแวดล้อมที่กำลังมีผลหรือกำลังได้รับผลจากองค์กร
4.2 การทำความเข้าใจความต้องการ และความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
ต้อง ทำความเข้าใจ
👉ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องกับระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม
👉ความจำเป็นและความคาดหวังที่เกี่ยวข้อง เช่น ข้อกำหนด,กม. ให้นำมาเป็นข้อบังคับที่ต้องปฏิบัติ
4.3 การพิจารณาของข่ายของระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม
👉องค์กร ต้อง พิจารณาขอบเขตและขอบข่ายในการนำระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมไปประยุกต์ใช้
การกำหนดขอบข่าย องค์กร ต้อง พิจารณาถึง
👉ประเด็นภายนอกและภายใน ตามข้อ 4.1
👉ข้อบังคับที่ต้องทำให้สอดคล้อง ตามข้อ 4.2
👉หน่วยงานขององค์กร หน้าที่ ขอบเขตพื้นที่
👉กิจกรรม ผลิตภัณฑ์และบริการ
👉อำนาจหน้าที่ และความสามารถในการควบคุม รวมถึงการมีส่วนเกี่ยวข้อง
เมื่อได้มีการกำหนดขอบเขต กิจกรรม ผลิตภัณฑ์และบริการ ที่สามารถมีผลต่อลักษณะปัญหาสิ่งแวดล้อมที่สำคัญ (6.1.2) ต้อง รวมอยู่ในขอบเขตของระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม
ขอบข่าย ต้อง ทำไว้เป็น Documented information& และพร้อมสู่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
4.4 ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม
👉องค์กร ต้อง จัดทำ นำไปปฏิบัติ รักษาไว้ และปรับปรุงระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง รวมถึงกระบวนการที่จำเป็นและปฏิสัมพันธ์ของกระบวนการ ตามข้อกำหนดของมาตรฐานสากลฉบับนี้ เพื่อให้ได้ซึ่งสมรรถนะด้านสิ่งแวดล้อม
👉องค์กร ต้อง ทำการพิจารณาความรู้ในบริบทในการจัดทำและรักษาระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม
เพื่อให้บรรลุผลตามที่ต้องการ รวมถึงการเพิ่มประสิทธิภาพด้านสิ่งแวดล้อมขององค์กร องค์กรต้องเริ่มดำเนินการ , นำไปใช้ , คงรักษาและปรับปรุงระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง รวมถึงกระบวนการที่จำเป็นต่างๆและการมีปฏิสัมพันธ์กันของกระบวนการเหล่านี้ ตามข้อกำหนดของมาตรฐานสากลนี้
องค์กรต้องพิจารณาความรู้ที่ได้จากข้อ 4.1 และ 4.2 เมื่อมีการเริ่มดำเนินการและคงรักษาระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม
ข้อกำหนดข้อ 5. Leadership ภาวะผู้นำ
5.1 ภาวะผู้นำและความมุ่งมั่น (Leadership and commitment)
ผู้บริหารสูงสุด ต้อง แสดงให้เห็นถึงการเป็นผู้นำและความมุ่งมั่นต่อระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมโดย
👉เป็นผู้มีภาระรับผิดชอบต่อประสิทธิผลของระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม
👉มั่นใจว่านโยบายและวัตถุประสงค์ด้านสิ่งแวดล้อมได้มีกำหนดขึ้น และสอดคล้องกับทิศทางกลยุทธ์ และบริบทขององค์กร
👉มั่นใจว่ามีการบูรณาการข้อกำหนดของระบบการบจัดการสิ่งแวดล้อมกับกระบวนการทางธุรกิจขององค์กร
👉มั่นใจว่ามีการจัดสรรทรัพยากรที่จำเป็นสําหรับระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างเพียงพอ
👉สื่อสารให้เข้าใจถึงความสําคัญของระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมที่มีประสิทธิผลและการสอดคล้องตามข้อกำหนดของระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม
👉มั่นใจว่าระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมบรรลุผลสัมฤทธิ์ตามที่คาดหวังไว้
👉ชักนำ อำนวยการและสนับสนุนบุคลากรให้เข้ามามีส่วนร่วมให้ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมเกิดประสิทธิผล
👉ส่งเสริมให้มีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
👉สนับสนุนให้ผู้บริหารที่มีบทบาทหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ได้แสดงความเป็นผู้นำและความมุ่งมั่นในการประยุกต์ใช้มาตรฐานดังกล่าวในงานที่รับผิดชอบ
หมายเหตุ คำว่า “ธุรกิจ” ในมาตรฐานนี้ให้มีความหมายกว้างๆ ว่าหมายถึงกิจกรรมหลักต่างๆ ที่ทำให้องค์กรสามารถบรรลุวัตถุประสงค์
5.2 นโยบายสิ่งแวดล้อม (Environmental policy)
👉ผู้บริหารสูงสุด ต้อง จัดทำ นำไปปฏิบัติ และรักษาไว้ ซึ่งนโยบายสิ่งแวดล้อม โดยอยู่ในขอบเขตที่กำหนดในระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม
a) เหมาะสมกับจุดประสงค์ขององค์กรและบริบทขององค์กร รวมถึงลักษณะ ขนาดและผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมของกิจกรรม ผลิตภัณฑ์และบริการ
b) ให้กรอบสําหรับการกำหนดและทบทวนวัตถุประสงค์ด้านสิ่งแวดล้อม
c) รวมถึงความมุ่งมั่นในการปกป้องสิ่งแวดล้อม รวมถึงการป้องกันมลพิษ และข้อกำหนดอื่นๆ ในบริบทขององค์กร
หมายเหตุ ข้อกำหนดความมุ่งมั่นเฉพาะอื่นๆ เพื่อปกป้องสิ่งแวดล้อม สามารถรวมถึงการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการประยุกต์ใช้หรือปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพ และระบบนิเวศหรือประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมอื่นๆ
d) รวมถึงความมุ่งมั่นในการทำให้สอดคล้องกับข้อบังคับ
e) รวมถึงความมุ่งมั่นในการปรับปรุงระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ได้มาซึ่งสมรรถนะด้านสิ่งแวดล้อม
นโยบายสิ่งแวดล้อม ต้อง
👉ได้รับการจัดทำไว้เป็น Documented information
👉ได้รับการสื่อสารภายในองค์กร รวมถึงผู้ที่ทำงานภายใต้การควบคุมองค์กร
👉พร้อมเผยแพร่สู่ผู้มีส่วนได้เสีย
5.3 บทบาท ความรับผิดชอบ และอำนาจ (Organization roles, responsibilities and authorities)
👉ผู้บริหารสูงสุด ต้อง มั่นใจว่าความรับผิดชอบและอำนาจหน้าที่ สําหรับหน้าที่ต่างๆ ได้มีการมอบหมาย สื่อสาร และเป็นที่เข้าใจ ภายในองค์กร
👉ผู้บริหารสูงสุด ต้อง มอบหมายความรับผิดชอบและอำนาจหน้าที่เพื่อ
a) มั่นใจว่าระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมเป็นไปตามข้อกำหนดของมาตรฐานสากลนี้
b) รายงานสมรรถนะของระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม รวมถึงสมรรถนะด้านสิ่งแวดล้อมต่อผู้บริหารสูงสูด
ข้อกำหนด6. Planning การวางแผน
6.1 การดำเนินการต่อความเสี่ยงและโอกาส (Actions to address risks and opportunities)
6.1.1 ทั่วไป
👉องค์กร ต้อง วางแผนและปฏิบัติตามกระบวนการซึ่งสอดคล้องกับข้อกำหนด 6.1.1-6.1.4
เมื่อวางแผนระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม องค์กร ต้อง พิจารณา
👉ข้อ 4.1 และ 4.2 รวมถึงขอบข่ายการรับรอง
👉ความเสี่ยงและโอกาส ทั้งลักษณะปัญหาสิ่งแวดล้อม กฎหมาย และข้อกำหนดอื่นๆ
👉ความจำเป็นในการดำเนินการ
มี Documented information& สำหรับการดำเนินการต่อความเสี่ยงและโอกาส รวมถึงกระบวนการต่างๆ ตามข้อ 6.1.1 – 6.1.4
6.1.2 ลักษณะปัญหาสิ่งแวดล้อมที่สําคัญ (Environmental aspects)
ภายในขอบเขตของระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม
👉องค์กร ต้อง ระบุลักษณะปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องของกิจกรรม ผลิตภัณฑ์ และบริการที่สามารถควบคุม และมีอิทธิพลรวมถึงพิจารณามุมมองด้านวัฏจักรวงจรชีวิต (Life Cycle)
👉พิจารณาถึง
1) การเปลี่ยนแปลง รวมถึงแผน หรือการพัฒนาใหม่ๆ หรือการปรับเปลี่ยนกิจกรรม ผลิตภัณฑ์ และบริการ
2) ระบุสิ่งผิดปกติ และแนวโน้มของสถานการณ์ฉุกเฉิน
6.1 การดำเนินการต่อความเสี่ยงและโอกาส (Actions to address risks and opportunities)
👉องค์กร ต้อง พิจารณาลักษณะปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มี หรือสามารถมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่สำคัญเหล่านั้น เช่น ลักษณะปัญหาสิ่งแวดล้อมที่สำคัญ
👉องค์กร ต้อง สื่อสารลักษณะปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมสำคัญในแต่ละระดับและหน้าที่ภายในองค์กร
👉องค์กร ต้อง รักษาไว้ซึ่ง Documented information&
👉เกณฑ์ที่ใช้ในการพิจารณาลักษณะปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่สําคัญ
👉ลักษณะปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง
👉ลักษณะปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมอย่างที่สําคัญ
หมายเหตุ ลักษณะปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมอย่างที่สำคัญ อาจส่งผลในความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับผลกระทบด้านลบต่อสิ่งแวดล้อม (ภัยคุกคาม) หรือผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เป็นประโยชน์ (โอกาส)
6.1.3 การปฏิบัติตามข้อบังคับ (Compliance obligations)
👉องค์กร ต้อง
a) ระบุ และเข้าถึง ข้อบังคับต่างๆ ที่ซึ่งเกี่ยวข้องกับลักษณะปัญหาสิ่งแวดล้อม
b) พิจารณาวิธีการในการประยุกต์ใช้ข้อบังคับนั้นๆ กับองค์กร
c) นำข้อบังคับเหล่านี้ มาจัดตั้ง ปฏิบัติ รักษาไว้ และปรับปรุง EMS
👉องค์กร ต้อง รักษาไว้ ซึ่ง Documented information&ของข้อบังคับต่างๆ นั้น
หมายเหตุ การปฏิบัติตามข้อบังคับต่างๆ ที่มีความเสี่ยงกับผลกระทบด้านลบ(ภัยคุกคาม) หรือผลกระทบด้านบวก (โอกาส) กับองค์กร
6.1.4 การวางแผนดำเนินการ (Planning action)
👉องค์กร ต้อง วางแผน
a ) ดำเนินการเพื่อจัดการ
👉ลักษณะปัญหาสิ่งแวดล้อมที่สําคัญ
👉ข้อบังคับต่างๆ
👉ความเสี่ยงและโอกาสที่ได้ประเมินไว้
b ) ทำอย่างไรที่จะ
👉บูรณาการและนำไปปฏิบัติในกระบวนการของระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม
👉ประเมินประสิทธิผลของการปฏิบัติการเหล่านี้
👉เมื่อจัดทำวัตถุประสงค์นี้ องค์กร ต้อง พิจารณาทางเลือกทางเทคโนโลยีและการเงิน การดำเนินงานและข้อกำหนดทางธุรกิจ
6.2 วัตถุประสงค์ด้านสิ่งแวดล้อมและการวางแผนเพื่อให้บรรลุ (Environmental objectives and planning to achieve them)
6.2.1 วัตถุประสงค์ด้านสิ่งแวดล้อม
👉องค์กร ต้อง จัดทำวัตถุประสงค์ด้านสิ่งแวดล้อมที่สัมพันธ์ในแต่ละหน้าที่และระดับ โดยพิจารณาถึงลักษณะปัญหาสิ่งแวดล้อมขององค์กรและข้อบังคับต่างๆ พิจารณาถึงความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับภัยคุกคามและโอกาส
👉 วัตถุประสงค์ด้านสิ่งแวดล้อม ต้อง
a) สอดคล้องกับนโยบายสิ่งแวดล้อม
b) สามารถวัดได้(หากเป็นไปได้)
c) ได้รับการติดตามเฝ้าระวัง
d) ได้รับการสื่อสาร
e) ได้รับการปรับปรุงตามความเหมาะสม
👉องค์กร ต้อง เก็บรักษา documented information& ที่เกี่ยวกับวัตถุประสงค์ด้านสิ่งแวดล้อม
6.2.2 การวางแผน เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ด้านสิ่งแวดล้อม
เมื่อวางแผน เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ด้านสิ่งแวดล้อม
องค์กร ต้อง พิจารณาถึง
👉อะไรที่จะทำ
👉ทรัพยากรอะไรที่ต้องการ
👉ใครเป็นคนรับผิดชอบ
👉กำหนดระยะเวลาแล้วเสร็จ
👉วิธีการประเมินผล รวมถึงดัชนีชี้วัด สําหรับการติดตามความคืบหน้าในการบรรลุวัตถุประสงค์ด้านสิ่งแวดล้อม (9.1.1)
👉องค์กรต้องพิจารณาวิธีการในการดำเนินการเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ด้านสิ่งแวดล้อมว่าสามารถควบรวมในกระบวนการทางธุรกิจขององค์กร
👉องค์กร ต้อง พิจารณาวิธีการในการดำเนินการ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ด้านสิ่งแวดล้อม ให้สามารถรวมอยู่ในกระบวนการทางธุรกิจขององค์กร
ข้อกำหนด7. Support การสนับสนุน
7.1 ทรัพยากร (Resources)
👉องค์กร ต้อง พิจารณาและจัดหาทรัพยากรที่จำเป็น สําหรับการจัดทำ การนำไปปฏิบัติ รักษาไว้ และปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ต่อระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม
7.2 ความสามารถ (Competence)
👉องค์กร ต้อง
👉กำหนดความสามารถที่จำเป็นของบุคลากรที่ทำงานภายใต้การควบคุมที่มีผลต่อสมรรถนะด้านสิ่งแวดล้อม
👉มั่นใจว่าบุคคลเหล่านั้น มีความสามารถบนพื้นฐานของการศึกษา การฝึกอบรม หรือประสบการณ์ ที่เหมาะสม
👉พิจารณาการฝึกอบรมที่จำเป็นที่สัมพันธ์กับลักษณะที่สำคัญ และ EMS
7.2 ความสามารถ (Competence)(ต่อ)
👉ดำเนินการ เพื่อให้ได้มาซึ่งความสามารถที่จำเป็น รวมถึงการประเมินประสิทธิผลของการดำเนินการนั้นๆ
หมายเหตุ การดำเนินการที่เกี่ยวข้องอาจรวมถึง การให้ฝึกอบรม การเป็นพี่เลี้ยงหรือการมอบหมายงานซํ้าให้กับพนักงานปัจจุบัน หรือการจ้าง หรือทำสัญญากับผู้ที่มีความสามารถ
👉องค์กร ต้อง เก็บรักษา Documented information2 ที่เหมาะสม เพื่อเป็นหลักฐานของความสามารถ
7.3 ความตระหนัก (Awareness)
👉บุคลากรที่ปฏิบัติงานภายใต้การควบคุมขององค์กร ต้อง มีความตระหนักในเรื่อง
👉นโยบายสิ่งแวดล้อม
👉ลักษณะปัญหาสิ่งแวดล้อมที่สำคัญ และผลกระทบที่มีหรือมีแนวโน้มที่เกี่ยวข้องกับงานของเขา
👉การมีส่วนร่วมต่อประสิทธิผลของระบบของการจัดการสิ่งแวดล้อม รวมถึงประโยชน์ของการได้มาซึ่งสมรรถนะด้านสิ่งแวดล้อม
👉ผลกระทบของการไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดของระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม รวมถึงข้อบังคับต่างๆ
7.4 การสื่อสาร (communication)
7.4.1 ทั่วไป
องค์กร ต้อง พิจารณาความจำเป็น สำหรับการสื่อสารภายใน และการสื่อสารภายนอกที่เกี่ยวกับระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ซึ่งรวมถึง
👉สื่อสารอะไร
👉สื่อสารเมื่อไร
👉สื่อสารกับใคร
👉สื่อสารอย่างไร
7.4 การสื่อสาร (communication)
7.4.1 ทั่วไป (ต่อ)
เมื่อวางแผนกระบวนการสื่อสาร 👉องค์กร ต้อง
👉พิจารณาการปฏิบัติตามข้อบังคับต่างๆ
👉มั่นใจว่าสารสนเทศด้านสิ่งแวดล้อมได้รับการสื่อสาร สอดคล้องกับข้อมูลภายในระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม และเชื่อถือได้
👉องค์กร ต้อง ตอบการสื่อสารที่เกี่ยวข้องในระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม
👉องค์กร ต้อง เก็บรักษา Documented information2 ไว้เป็นหลักฐานของการสื่อสาร ตามความเหมาะสม
7.4.2 การสื่อสารภายใน (Internal communication)
👉องค์กร ต้อง
a) การสื่อสารในระดับและหน้าที่ต่างๆขององค์กร รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ของระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ตามความเหมาะสม
b) มั่นใจว่า กระบวนการสื่อสาร ทำให้ผู้ทำงานภายใต้องค์กร มีส่วนร่วมในการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
7.5 เอกสารข้อมูล (Documented information)
7.5.1 ทั่วไป
ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมขององค์กร👉 ต้อง รวมถึง
👉เอกสารข้อมูลตามที่มาตรฐานสากลนี้กำหนด
👉เอกสารข้อมูลที่จำเป็นโดยองค์กรเอง เพื่อให้ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมที่มีประสิทธิผล
7.5 เอกสารข้อมูล (Documented information)
7.5.2 การจัดทำและทำให้ทันสมัย
เมื่อจัดทำ หรือปรับปรุงเอกสารข้อมูลต่างๆ องค์กร👉 ต้อง มั่นใจว่า
👉ได้รับการชี้บ่ง และให้คำอธิบาย (เช่น ชื่อเรื่อง วันที่ ผู้จัดทำ หรือเลขอ้างอิง)
👉รูปแบบ (เช่น ภาษา รุ่นของโปรแกรมสำเร็จรูป กราฟฟิค) และสื่อที่นำมาใช้ (เช่น กระดาษ ข้อมูลทางอิเลคทรอนิกส์)
👉ความเหมาะสม และความเพียงพอในการทบทวน และอนุมัติ
7.5 เอกสารข้อมูล (Documented information)
7.5.3 การควบคุมเอกสารข้อมูล
เอกสารข้อมูลที่ต้องการโดยระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม และโดยมาตรฐานฉบับนี้👉 ต้อง ได้รับการควบคุม เพื่อให้มั่นใจว่า
👉สามารถเข้าถึงได้ และสะดวกต่อการนำมาใช้งาน
👉ได้รับการปกป้องอย่างเพียงพอ (เช่น ถูกเปิดเผยความลับ นำไปใช้ในทางที่ไม่เหมาะสม สูญเสียความสมบูรณ์ของเอกสาร)
7.5.3 การควบคุมเอกสารข้อมูล (Documented information)(ต่อ)
สำหรับการควบคุมเอกสารข้อมูล 👉องค์กร ต้อง ดำเนินการดังนี้ ตามความเหมาะสม
👉การแจกจ่าย การเข้าถึง การแก้ไข และนำมาใช้งาน
👉การจัดเก็บ และการดูแลรักษา รวมถึงคงความชัดเจน
👉การควบคุมการเปลี่ยนแปลง (เช่น การควบคุมฉบับที่)
👉ระยะเวลาการจัดเก็บ และการทำลาย
เอกสารข้อมูลที่ได้รับจากภายนอก ที่ถูกนำมาใช้ในองค์กรซึ่งจำเป็นต่อการวางแผน และดำเนินงานในระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม 👉ต้อง ได้รับการชี้บ่งอย่างเหมาะสม และได้รับควบคุม
ข้อกำหนด8. Operation การดำเนินการ
8.1 การวางแผนและการควบคุมการดำเนินการ (Operational planning and control)
👉 องค์กร ต้อง วางแผน นำไปปฏิบัติ และควบคุมกระบวนการ เพื่อให้บรรลุข้อกำหนดระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม และปฏิบัติตามกิจกรรมที่ได้รับการพิจารณาในข้อ 6.1และ 6.2 โดย
👉จัดทำเกณฑ์สําหรับกระบวนการ
👉ทำการปฏิบัติการควบคุมกระบวนการตามเกณฑ์และป้องกันการเบี่ยงเบนไปจากนโยบายสิ่งแวดล้อม,วัตถุประสงค์ด้านสิ่งแวดล้อมและข้อบังคับต่างๆ
หมายเหตุ การควบคุมสามารถรวมถึงการควบคุมวิศวกรรม ขั้นตอน เอกสารขั้นตอน ฯลฯ สามารถนำมาใช้ตามลำดับชั้น (เช่นกำจัดการทดแทน การดูแล) และสามารถใช้เดี่ยวๆ หรือใช้ร่วมกันก็ได้
👉องค์กร ต้อง มีแผนควบคุม การเปลี่ยนแปลง และการทบทวนผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงที่ไม่ได้ตั้งใจ เพื่อลดผลข้างเคียงด้านลบใดๆ ตามความเหมาะสม
👉องค์กร ต้อง มั่นใจว่า กระบวนการที่ได้จ้าง Outsourced ได้รับการควบคุม ทั้งชนิดและระดับของการควบคุมที่ใช้กับกระบวนการเหล่านี้ 👉ต้อง ได้รับการกำหนดไว้ในระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม
สิ่งที่เกี่ยวข้องกับวงจรชีวิต (Life Cycle) 👉องค์กร ต้อง
a) พิจารณาข้อกำหนดด้านสิ่งแวดล้อม สําหรับการจัดซื้อจัดจ้างผลิตภัณฑ์และบริการ ตามความเหมาะสม
b) สร้างการควบคุม เพื่อให้มั่นใจว่า ข้อกำหนดด้านสิ่งแวดล้อมจะได้รับการพิจารณาในกระบวนการออกแบบกระบวนการพัฒนา การจัดส่ง การใช้งาน และบำบัดสุดท้ายของชีวิตของสินค้าและบริการ ตามความเหมาะสม
c) สื่อสารข้อกำหนดด้านสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องไปยังผู้ให้บริการจากภายนอก รวมทั้งผู้รับเหมา
d) พิจารณาข้อมูลที่จำเป็นเกี่ยวกับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่มีนัยสําคัญที่เป็นไปได้ระหว่างการส่งมอบผลิตภัณฑ์หรือบริการ และระหว่างการใช้งาน และการจัดการเมื่อผลิตภัณฑ์หมดอายุการใช้งาน
👉องค์กร ต้อง เก็บ documented information&ที่จำเป็นในการสร้างความเชื่อมั่น ว่ากระบวนได้ดำเนินตามแผน
8.2 การเตรียมพร้อมและตอบสนองต่อภาวะฉุกเฉิน
(Emergency preparedness and response)
👉องค์กร ต้อง จัดทำและปฏิบัติตามขั้นตอนเฉพาะที่กำหนดวิธีการในการตอบสนองต่อสถานการณ์ฉุกเฉินและอุบัติเหตุที่สำคัญซึ่งอาจเกิดขึ้นได้
👉องค์กร ต้อง
a) มีแนวทางในการป้องกันหรือบรรเทาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากเหตุการณ์ฉุกเฉิน
b) มีแนวทางตอบสนองต่อสถานการณ์ฉุกเฉินที่เกิดขึ้น
c) ดำเนินการเพื่อลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมในสถานการณ์ฉุกเฉิน ซึ่งเหมาะสมกับขนาดของเหตุการณ์ฉุกเฉินหรืออุบัติเหตุ และผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่สำคัญ
d) ทดสอบขั้นตอนเป็นระยะๆ หากทำได้
e) กำหนดการทบทวน ตามจำเป็น แก้ไขขั้นตอนโดยเฉพาะหลังการเกิดอุบัติเหตุ เหตุการณ์ฉุกเฉิน หรือภายหลังซ้อม
f) กำหนดข้อมูลที่เกี่ยวข้องและการฝึกอบรมที่จำเป็นที่สัมพันธ์กับแผนฉุกเฉิน
👉องค์กร ต้อง เก็บ documented information ที่จำเป็นในการสร้างความเชื่อมั่น ว่ากระบวนได้ดำเนินตามแผน
ข้อกำหนด9. Performance Evaluation การประเมินสมรรถนะ
9.1 การเฝ้าระวัง ตรวจวัด วิเคราะห์และประเมิน (Monitoring, measurement, analysis and evaluation)
9.1.1 ทั่วไป
👉องค์กร ต้อง เฝ้าระวัง วัด วิเคราะห์และประเมินสมรถณะด้านสิ่งแวดล้อม
👉องค์กร ต้อง พิจารณาถึง
a) สิ่งที่ต้องการวัดและเฝ้าระวัง ที่เกี่ยวกับ
b) วิธีการสําหรับการเฝ้าระวัง การวัด การวิเคราะห์ และการประเมิน เพื่อให้มั่นใจถึงความถูกต้องของผลลัพธ์
c) เกณฑ์ที่ใช้ขององค์กรในการประเมินสมรรถนะด้านสิ่งแวดล้อม โดยใช้ตัวชี้วัดที่เหมาะสม
d) เมื่อไรที่ต้องดำเนินการวัดและเฝ้าระวัง
👉e) เมื่อไรที่ ต้อง ดำเนินการวิเคราะห์และการประเมินผลลัพธ์ที่ได้จากการวัดและเฝ้าระวัง
👉องค์กร ต้อง มั่นใจว่าเครื่องมืออุปกรณ์ที่ใช้ในการติดตามและตรวจวัด ได้รับการสอบเทียบหรือทวนสอบ ว่าได้มีการนำไปใช้และเก็บรักษาอย่างเหมาะสม
👉องค์กร ต้อง ประเมินสมรรถนะการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม และให้ข้อมูลนำเข้าในการทบทวนฝ่ายบริหาร(ดู 9.3) สําหรับการประเมินประสิทธิผลของระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม
9.1.1 ทั่วไป (ต่อ)
👉องค์กร ต้อง สื่อสารสารข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสมรรถนะผลการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกที่ได้รับการพิจารณากระบวนการสื่อสาร และตามข้อบังคับต่างๆ
👉องค์กร ต้อง เก็บรักษา Documented information2 ที่เหมาะสม เพื่อเป็นหลักฐานการติดตาม ,การวัด, การวิเคราะห์ และการประเมินผล
9.1.2 การประเมินความสอดคล้อง (Evaluation of compliance)
👉องค์กร ต้อง วางแผนและดำเนินการในการประเมินการสอดคล้องกับข้อบังคับต่างๆ
👉องค์กร ต้อง พิจารณาความถี่ในการประเมินการสอดคล้อง
👉ประเมินการสอดคล้องและดำเนินการ (ถ้าจำเป็น)
👉รักษาไว้ซึ่งความรู้และความเข้าใจในสถานะสอดคล้องกับข้อบังคับต่างๆ
👉องค์กร ต้อง เก็บรักษา Documented information ที่เป็นหลักฐานของการปฏิบัติตามข้อบังคับต่างๆ นั้น
9.2 การตรวจประเมินภายใน (Internal audit)
👉9.2.1 องค์กร ต้อง ดำเนินการตรวจประเมินภายในตามช่วงเวลาที่กำหนด เพื่อเป็นข้อมูลว่าระบบบริหารคุณภาพ
เป็นไปตาม
👉ข้อกำหนดขององค์กรเองตาม EMS
👉ข้อกำหนดของมาตรฐานสากลฉบับนี้
👉ได้มีการนำไปปฏิบัติและรักษาระบบไว้อย่างมีประสิทธิผล
9.2.2 โปรแกรมการประเมินภายใน (Internal audit programme)
👉องค์กร ต้อง จัดตั้ง นำไปปฏิบัติ และรักษาไว้ซึ่งโปรแกรมการตรวจ รวมถึงความถี่ วิธีการ ผู้รับผิดชอบ ข้อกำหนดด้านการวางแผนและรายงานการตรวจ
👉ต้อง มีการพิจารณาความสำคัญด้านสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการ ความเสี่ยงทั้งด้านภัยคุกคามและโอกาส และผลของการตรวจติดตามครั้งที่ผ่านมา
👉องค์กร ต้อง
a)กำหนดเกณฑ์การตรวจประเมินและขอบข่ายของการตรวจ
b)การคัดเลือกผู้ตรวจและมั่นใจว่าการตรวจเป็นไปตามวัตถุประสงค์ และเป็นกระบวนการตรวจที่ไม่เอนเอียง
c)มั่นใจว่าผลการตรวจมีการรายงานสู่ผู้บริหาร
👉องค์กร ต้อง จัดเก็บ documented information2 ไว้เป็นหลักฐาน สำหรับโปรแกรมการตรวจและผลของการตรวจ
9.3 การทบทวนของฝ่ายบริหาร (Management Review)
👉ผู้บริหารสูงสุด ต้อง ทบทวน EMS ขององค์กรตามช่วงเวลาที่ได้วางแผนไว้ เพื่อให้มั่นใจถึงการคงความเหมาะสม ความพอเพียง และความมีประสิทธิผล
👉ผู้บริหารสูงสุด ต้อง ทบทวนแผนที่วางไว้และทำการพิจารณา
a) สถานะของการดำเนินการจากทบทวนก่อนหน้า
b) การเปลี่ยนแปลงใน
👉ประเด็นภายในและภายนอกที่เกี่ยวข้องกับระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม
👉ความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย รวมถึงการสอดคล้องกับข้อบังคับต่างๆ
👉ลักษณะปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่สำคัญ
👉ความเสี่ยงและโอกาส
c) ขอบเขตที่วัตถุประสงค์ได้บรรลุ
d) ข้อมูลสมรรถนะของสมรรถนะด้านสิ่งแวดล้อมขององค์กร รวมทั้งแนวโน้มในเรื่อง
👉สิ่งที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนดและดำเนินการแก้ไข
👉ผลการเฝ้าระวังและการวัด
👉การสอดคล้องกับข้อบังคับต่างๆ
👉ผลการตรวจประเมิน
e) ความเพียงพอของทรัพยากร
f) การสื่อสารกับผู้มีส่วนได้เสีย รวมถึงข้อร้องเรียน
g) โอกาสในการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
👉ผลของการทบทวนฝ่ายบริหาร ต้อง รวมถึง
👉ผลสรุปที่เกี่ยวกับความเหมาะสม, เพียงพอ และประสิทธิผล ของระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม อย่างต่อเนื่อง
👉การตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับโอกาสในการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
👉ความจำเป็นใดๆที่ต้องเปลี่ยนแปลงระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม รวมทั้งทรัพยากรที่จำเป็น
👉การดำเนินที่จำเป็น เมื่อวัตถุประสงค์ไม่บรรลุผล
👉โอกาสในการปรับปรุงในการบูรณาการ EMS กับกระบวนการทางธุรกิจ
👉สิ่งที่เกี่ยวข้องใด ๆ กับทิศทางกลยุทธ์ขององค์กร
👉องค์กร ต้อง เก็บรักษา documented information ไว้เป็นหลักฐานของผลลัพธ์จากการทบทวนฝ่ายบริหาร
ข้อกำหนด10. Improvement การปรับปรุง
10.1 ทั่วไป (General)
👉องค์กร ต้อง พิจารณาโอกาสในการปรับปรุง และความจำเป็นในการดำเนินการ เพื่อให้บรรลุผลที่ต้องการของระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม
10.2 ความไม่สอดคล้องและการปฏิบัติการแก้ไข (Non conformity and corrective action)
เมื่อเกิดสิ่งที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนด 👉องค์กร ต้อง
a) ตอบสนองต่อสิ่งที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนด และหากทำได้
👉ดำเนินการในทันที เพื่อควบคุมและแก้ไข
👉เยียวยาผลกระทบสิ่งแวดล้อม รวมถึงดำเนินการกับผลกระทบที่ตามมา
b)👉 ประเมินความจำเป็นในการดำเนินการ เพื่อกำจัดสาเหตุของสิ่งที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนด เพื่อไม่ให้เกิดขึ้นซํ้า หรือเกิดขึ้นที่อื่น ๆ โดย
👉ทบทวนสิ่งที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนด
👉พิจารณาสาเหตุของสิ่งที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนด
👉พิจารณาว่ามีสิ่งที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนดที่คล้ายคลึงกันอยู่หรืออาจมีโอกาสเกิด
c) พิจารณาและดำเนินกิจกรรมการแก้ไขที่จำเป็น
d) ทบทวนประสิทธิผลของการดำเนินการแก้ไขที่ได้ดำเนินการ
e) ทำการเปลี่ยนแปลงระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ถ้าจำเป็น
👉การปฏิบัติการแก้ไข ต้อง เหมาะสมกับผลกระทบที่สําคัญของสิ่งที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนดที่เกิดขึ้น รวมถึงผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม
👉องค์กร ต้อง เก็บรักษาเอกสารไว้เป็นหลักฐาน สำหรับ
👉ลักษณะของสิ่งที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนดและการดำเนินการที่ตามมา
👉ผลของการปฏิบัติการแก้ไข
10.3 การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง(Continual improvement)
👉องค์กร ต้อง มีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ที่เหมาะสม เพียงพอ และมีประสิทธิผลต่อระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม