ข้อกําหนด ISO 9001 : 2015
ข้อกำหนด4. บริบทขององค์กร (Context of the organization)
4.1 การทำความเข้าใจเกี่ยวกับองค์กร และบริบทขององค์กร Understanding the organization and its context)
😊องค์กร ต้อง พิจารณามุมมองภายใน และภายนอกที่สัมพันธ์กับกับวัตถุประสงค์และทิศทางเชิงกลยุทธ์ รวมถึงความสามารถที่จะบรรลุผลลัพธ์จากระบบการบริหารคุณภาพ
😊องค์กร ต้องเฝ้าระวังและทบทวนข้อมูลเกี่ยวกับมุมมองภายใน และภายนอก
4.2 การทำความเข้าใจความต้องการ และความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Understanding the needs and expectations of inter rested parties)
มองที่ผลกระทบ หรือแนวโน้มผลกระทบต่อความสามารถขององค์กรในการผลิตผลิตภัณฑ์และให้บริการที่จะดำเนินการ เพื่อให้สอดคล้องกับข้อกำหนดของลูกค้า หรือกฎหมาย ระเบียบต่างๆ โดย องค์กร ต้อง พิจารณาผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ที่เกี่ยวข้องกับระบบบริหารงานคุณภาพ
😊ข้อกำหนดต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเหล่านั้น
องค์กร ต้อง เฝ้าระวังและทบทวนข้อมูลเกี่ยวกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องเหล่านั้น
4.3 การพิจารณาของข่ายของระบบบริหารคุณภาพ (Determining the scope of the quality management system)
😊องค์กร ต้อง พิจารณา ขอบเขตทางกายภาพ (boundaries) และ การประยุกต์ใช้ระบบบริหารคุณภาพที่ได้จัดทำขึ้นตามที่กำหนดใน ขอบข่ายของกระบวนการ (Scope)
😊เมื่อจะกำหนดขอบข่าย องค์กร ต้อง พิจารณา
😊มุมมองภายนอก และภายใน จากข้อ 4.1
😊ข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จากข้อ 4.2
😊ผลิตภัณฑ์และบริการขององค์กร
4.4 ระบบบริหารคุณภาพและกระบวนการ (Quality management system and its processes)
4.4.1 องค์กร ต้อง จัดตั้ง นำไปปฏิบัติ รักษาไว้ และปรับปรุงระบบบริหารคุณภาพ รวมถึงกระบวนการ และความสัมพันธ์ต่างๆที่จำเป็น ให้สอดคล้องกับข้อกำหนดของมาตรฐานสากลฉบับนี้
😊.4.1 องค์กร ต้องกำหนดกระบวนการ (Process) ที่จำเป็นและการประยุกต์ใช้สำหรับ QMS และ ต้อง กำหนด Input ที่ต้องการและ Output ที่คาดหวัง จากกระบวนการเหล่านี้
😊 ลำดับขั้น และความสัมพันธ์ของกระบวนการเหล่านี้
😊 แสดงเกณฑ์ วิธีการ รวมถึงตรวจวัด และตัวชี้วัดสมรถนะ (Performance Indicators)ของ กระบวนการเหล่านี้
😊ระบุทรัพยากรที่จำเป็น
😊 มอบหมายหน้าที่ความรับผิดชอบ อำนาจ สำหรับกระบวนการเหล่านี้
😊 ความเสี่ยงและโอกาส ตามข้อ 6.1 และวางแผน ดำเนินการจัดการที่เหมาะสม
😊 วิธีการเฝ้าระวัง วัด และประเมินกระบวนการ ตามความเหมาะสม ซึ่งหากมีการเปลี่ยนแปลงกระบวนการ ยังคงมั่นใจถึงการบรรลุตามผลลัพธ์ที่คาดหวัง
😊vการปรับปรุงกระบวนการ และ QMS (ระบบบริหารงานคุณภาพ)
4.4 .2 องค์กร ต้อง
😊จัดทำ documented information& ที่จำเป็น เพื่อสนับสนุนแต่ละกระบวนการ
😊จัดเก็บ documented information2 ที่จำเป็น เพื่อให้มั่นใจว่า กระบวนการยังคงเป็นไปตามแผนที่วางไว้
ข้อกำหนด5. Leadership ความเป็นผู้นำ
5.1 Leadership and commitment
5.1.1 ความมุ่งมั่นต่อ QMS
ผู้บริหารสูงสุด ต้อง แสดงให้เห็นถึงความเป็นผู้นำ และความมุ่งมั่นที่สอดคล้องกับระบบบริหารคุณภาพ โดย
😊รับผิดชอบต่อประสิทธิผล (Effectiveness) ของ QMS (ระบบบริหารงานคุณภาพ)
😊◦มั่นใจว่านโยบาย และวัตถุประสงค์คุณภาพ ถูกกำหนดขึ้นและนำไปประยุกต์ใช้ร่วมกับแผนกลยุทธ์ต่างๆขององค์กร
😊◦มั่นใจว่า การนำข้อกำหนดระบบบริหารคุณภาพมาประยุกต์ใช้ร่วมกับกระบวนการต่างๆ ทางธุรกิจขององค์กร
😊◦ให้เกิดความตระหนัก สำหรับแนวคิดการเน้นกระบวนการ
😊มั่นใจว่าทรัพยากรต่างๆที่จำเป็นสำหรับระบบบริหารคุณภาพมีการจัดเตรียมไว้
😊สื่อสารความสำคัญของประสิทธิผลของระบบบริหารคุณภาพ และการปฏิบัติตามข้อกำหนดของ QMS (ระบบบริหารงานคุณภาพ)
😊มั่นใจว่าระบบบริหารคุณภาพประสบผลสำเร็จตามผลลัพธ์ที่ได้คาดหวังไว้
😊เป็นผู้กำหนดทิศทาง และให้การสนับสนุนในการผลักดันในระบบบริหารคุณภาพมีประสิทธิผล (effectiveness)
😊ให้การส่งเสริมการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
😊สนับสนุนบทบาทของระบบการจัดการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ที่แสดงถึงภาวะผู้นำ
5.1.2 ความมุ่งเน้นลูกค้า (Customer focus)
😊ผู้บริหารสูงสุด ต้อง แสดงให้เห็นถึงความเป็นผู้นำ และความมุ่งมั่นที่มุ่งเน้นด้านลูกค้า โดยทำให้มั่นใจว่า
😊บรรลุข้อกำหนดของลูกค้าและข้อกำหนดของกฎหมาย
😊ความเสี่ยงที่มีผลกระทบต่อความสอดคล้องของผลิตภัณฑ์และบริการ และความสามารถในการบรรลุความพึงพอใจของลูกค้าได้รับการกำหนด และได้รับการจัดการ
😊มุ่งเน้นการทำให้บรรลุความพึงพอใจของลูกค้า
5.2 นโยบาย (Policy)
5.2.1 การกำหนดนโยบายคุณภาพ (Establishing the policy)
ผู้บริหารสูงสุด ต้อง จัดทำ ทบทวน และรักษาไว้ซึ่งนโยบายคุณภาพ โดย
😊เหมาะสมกับจุดประสงค์ขององค์กร
😊กำหนดกรอบในการจัดตั้งและทบทวนวัตถุประสงค์คุณภาพ
😊รวมถึงความมุ่งมั่นในการปฏิบัติตามข้อกำหนดต่างๆ
😊รวมถึงความมุ่งมั่นในการปรับปรุง QMS (ระบบบริหารงานคุณภาพ) อย่างต่อเนื่อง
5.2.2 การสื่อสารนโยบายคุณภาพ ต้อง
😊จัดทำเป็น documented information
😊สื่อสารภาย เกิดความเข้าใจ และนำไปปฏิบัติภายในองค์กร
😊พร้อมสู่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (ตามความเหมาะสม)
5.3 บทบาท ความรับผิดชอบ และอำนาจ (Organization roles, responsibilities and authorities)
😊ผู้บริหารสูงสุด ต้อง มั่นใจว่า ความรับผิดชอบ และอำนาจหน้าที่ สอดคล้องกับบทบาท ได้ถูกมอบหมาย สื่อสาร และเกิดความเข้าใจภายในองค์กร
😊ผู้บริหารสูงสุด ต้อง มอบหมาย ความรับผิดชอบ และอำนาจ เพื่อ
😊มั่นใจว่าระบบการบริหารคุณภาพ สอดคล้องกับข้อกำหนดของมาตรฐานฉบับนี้
😊มั่นใจว่ากระบวนการเป็นไปตามผลลัพธ์ที่ได้ตั้งใจไว้
😊รายงานผลการดำเนินงานของ QMS (ระบบบริหารงานคุณภาพ) ทั้งโอกาสในการปรับปรุง และความจำเป็นในการเปลี่ยนแปลง หรือนวัตกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อผู้บริหารสูงสุด
😊มั่นใจว่ามีการส่งเสริมเรื่องการเน้นที่ลูกค้าขององค์กร
😊มั่นใจว่าความสมบูรณ์ของ QMS (ระบบบริหารงานคุณภาพ) ยังคงอยู่ เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงใดๆ ในระบบ
ข้อกำหนด6. Planning การวางแผน
6.1 การดำเนินการต่อความเสี่ยงและโอกาส (Actions to address risks and opportunities)
6.1.1 เมื่อมีการวางแผนสำหรับระบบบริหารคุณภาพ องค์กร ต้อง พิจารณาประเด็นที่อ้างอิงในข้อ 4.1 และข้อกำหนดที่อ้างอิงในข้อ 4.2 และพิจารณาความเสี่ยง และโอกาสที่ถูกระบุโดย
😊มั่นใจว่าระบบบริหารคุณภาพสามารถบรรลุความคาดหวังที่ตั้งไว้
😊เพิ่มผลความความพึงพอใจ
😊ป้องกัน หรือลดผลกระทบของสิ่งที่ไม่พึงประสงค์
😊บรรลุการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
6.1 การดำเนินการต่อความเสี่ยงและโอกาส (Actions to address risks and opportunities)
6.1.2 องค์กร ต้อง วางแผน :
😊การดำเนินการต่อความเสี่ยง และโอกาสที่จะเกิด
😊จะทำอย่างไร
😊ในการรวมระบบ และนำกระบวนการต่างๆ ใน ระบบบริหารคุณภาพไปปฏิบัติ
😊ประเมินประสิทธิผลของการดำเนินการต่างๆ นั้น
😊 การดำเนินการ ต้องเหมาะสมกับผลกระทบที่อาจมีต่อผลิตภัณฑ์และบริการ
6.2 วัตถุประสงค์คุณภาพ และแผนเพื่อบรรลุผล (Quality objectives and planning to achieve them)
6.2.1 องค์กร ต้อง จัดตั้งวัตถุประสงค์คุณภาพที่สัมพันธ์กับหน้าที่ ระดับ แลกระบวนการ
วัตถุประสงค์คุณภาพ ต้อง
😊สอดคล้องกับนโยบายคุณภาพ
😊สามารถวัดได้
😊เป็นไปตามข้อกำหนดต่างๆ
😊สัมพันธ์กับความสอดคล้องของผลิตภัณฑ์และบริการ รวมถึงความพึงพอใจลูกค้า
😊มีการเฝ้าติดตาม
😊มีการสื่อสาร และ
😊ทำให้ทันสมัย ตามความเหมาะสม
องค์กร ต้อง เก็บวัตถุประสงค์คุณภาพเป็น documented information2
6.2.2 เมื่อทำการวางแผนเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์คุณภาพ
องค์กร ต้อง กำหนด
😊ทำอะไร (What)
😊ใช้ทรัพยากรอะไรบ้าง (What resources)
😊ใครรับผิดชอบ (Who)
😊เสร็จเมื่อไร (When)
😊ประเมินผลอย่างไร (How evaluated)
6.3 การวางแผนการเปลี่ยนแปลง (Planning of changes)
เมื่อองค์กรพิจารณาความจำเป็นในการเปลี่ยนแปลงระบบบริหารคุณภาพ (ข้อ 4.4) การเปลี่ยนแปลง ต้องดำเนินการวางแผนและทำอย่างเป็นระบบ
😊องค์กร ต้อง พิจารณา
😊จุดประสงค์ของการเปลี่ยนแปลงและแนวโน้มของผลกระทบ
😊การบูรณาการ QMS (ระบบบริหารงานคุณภาพ)
😊ทรัพยากรที่จำเป็น
😊มอบหมายความรับผิดชอบ และอำนาจ
ข้อกำหนด7. Support การสนับสนุน
7.1 ทรัพยากร (Resources)
7.1.1 ทั่วไป
😊องค์กร ต้อง กำหนด และจัดหาทรัพยากรที่จำเป็น สำหรับการจัดตั้ง นำไปปฏิบัติ คงรักษาไว้ และปรับปรุงระบบบริหารคุณภาพ
😊องค์กร ต้อง พิจารณา
😊ทรัพยากรภายในที่มีอยู่ ความสามารถและข้อจำกัด
😊อะไรคือทรัพยากรที่ต้องการจากภายนอก
7.1.2 บุคลากร (People)
😊องค์กร ต้อง พิจารณาและจัดหาบุคลากรที่จำเป็น (Persons necessary) เพื่อประสิทธิผลของ QMS และเพื่อการดำเนินการและการควบคุมกระบวนการ
7.1.3 โครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure)
😊องค์กร ต้อง กำหนด จัดหา และรักษาไว้ ซึ่งโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น (Infrastructure necessary) สำหรับการดำเนินงานให้บรรลุกับความสอดคล้องของผลิตภัณฑ์และบริการ
7.1.4 สภาพแวดล้อมกระบวนการ (Environment for the operation of processes)
😊องค์กร ต้อง กำหนด จัดหา และรักษาไว้ ซึ่งสภาพแวดล้อมที่จำเป็น (Environment necessary) ในการดำเนินการ สำหรับกระบวนการและ บรรลุกับความสอดคล้องของผลิตภัณฑ์และบริการ
7.1.5 ทรัพยากรในการเฝ้าระวังและตรวจวัด (Monitoring and measuring resources)
7.1.5.1 ทั่วไป
องค์กร ต้อง พิจารณาทรัพยากรที่จำเป็น เพื่อให้มั่นใจถึงการทวนสอบและไว้วางใจได้ของผลการเฝ้าระวังและตรวจวัด เมื่อใช้การทวนสอบความสอดคล้องกับข้อกำหนดของผลิตภัณฑ์และบริการ
องค์กร ต้อง มั่นใจว่าทรัพยากรที่กำหนดนั้น เหมาะสมกับชนิดของการเฝ้าระวังและตรวจวัด
รักษาไว้ เพื่อให้มั่นใจว่าความเหมาะสมนั้นจะมีอย่างต่อเนื่องตามวัตถุประสงค์
องค์กร ต้อง เก็บรักษา documented information2 ที่เป็นหลักฐานในการแสดงความเหมาะสมตามวัตถุประสงค์ของทรัพยากรในการเฝ้าระวังและตรวจวัด
7.1.5.2 การสอบกลับได้ของการวัด (Measurement traceability)
เมื่อการสอบกลับได้ของการวัด (Traceability) เป็นข้อกำหนด หรือเป็นความต้องการขององค์กรเอง เพื่อให้มั่นใจในการทวนสอบผลของการวัด เครื่องมือวัด ต้อง
😊ได้รับการทวนสอบ หรือสอบเทียบ ตามช่วงเวลาที่กำหนดหรือก่อนการใช้งาน โดยเทียบกับเครื่องมือซึ่งสามารถสอบกลับไปยังมาตรฐานการวัดระดับสากลหรือระดับชาติได้ กรณีที่ไม่มีมาตรฐานเหล่านั้นอยู่ หลักเกณฑ์ที่ใช้ในการสอบเทียบหรือทวนสอบ ต้อง ถูกจัดเก็บไว้เป็น documented information
😊มีการชี้บ่งสถานะของการสอบเทียบ
😊ได้รับการปกป้องจากการปรับแต่ง ความเสียหายหรือการเสื่อมสภาพ ที่อาจมีผลต่อสถานการณ์สอบเทียบและผลของการวัด
องค์กร ต้อง กำหนดมาตรการ ในกรณีพบผลกระทบกับผลการวัดครั้งที่ผ่านมา เมื่อปรากฏว่าเครื่องมือวัดเกิดข้อบกพร่องในระหว่างที่จะวางแผนการทวนสอบหรือสอบเทียบ หรือระหว่างการใช้งาน รวมถึงดำเนินการปฏิบัติการแก้ไข ตามความเหมาะสม
7.1.6 องค์ความรู้ขององค์กร
(Organizational knowledge)
😊องค์กร ต้อง พิจารณาความรู้ที่จำเป็น สำหรับการดำเนินการของกระบวนการ และบรรลุความสอดคล้องของผลิตภัณฑ์และบริการ
😊ความรู้นี้ ต้อง รักษา และเข้าถึงได้ ตามความจำเป็น
😊เมื่อมีความจำเป็นหรือแนวโน้มในการเปลี่ยนแปลง องค์กร ต้อง ดำเนินตามพื้นฐานความรู้ในปัจจุบัน และพิจารณาความจำเป็นในการเพิ่มเติมองค์ความรู้ที่จะได้รับและทันสมัย
7.2 ความสามารถ (Competence)
องค์กร ต้อง
😊พิจารณาความสามารถที่จำเป็นของบุคลากรต่างๆ ที่ทำงานภายใต้การควบคุมขององค์กร ที่ส่งผลกระทบต่อผลการดำเนินงานด้านคุณภาพ
😊มั่นใจว่าบุคลากรเหล่านี้มีความสามารถบนพื้นฐานการศึกษา, การฝึกอบรม หรือประสบการณ์ที่เหมาะสม
😊หากทำได้ ดำเนินการให้บุคลากรมีความสามารถที่จำเป็น และประเมินประสิทธิผลของการดำเนินการนั้น
😊เก็บ documented information2 ที่เป็นหลักฐานเกี่ยวกับความสามารถนั้น
7.3 ความตระหนัก (Awareness)
องค์กร ต้อง มั่นใจว่าบุคลากรที่ทำงาน มีความตระหนักในเรื่อง
😊นโยบายคุณภาพ
😊วัตถุประสงค์คุณภาพที่เกี่ยวข้อง
😊การให้ความร่วมมือต่างๆ เพื่อให้ระบบบริหารคุณภาพมีประสิทธิผล รวมถึงประโยชน์ที่ได้รับจากการปรับปรุงผลการดำเนินงานด้านคุณภาพ
😊ผลกระทบที่ตามมา จากการไม่ปฏิบัติที่ตามข้อกำหนดของระบบบริหารคุณภาพ
7.4 การสื่อสาร (Communication)
องค์กร ต้อง พิจารณาความจำเป็น สำหรับการสื่อสารภายใน และการสื่อสารภายนอกที่เกี่ยวกับระบบบริหารคุณภาพ ซึ่งรวมถึง
😊สื่อสารอะไร
😊สื่อสารเมื่อไร
😊สื่อสารกับใคร
😊สื่อสารอย่างไร
😊ใครเป็นผู้สื่อสาร
7.5 เอกสารข้อมูล (Documented information)
7.5.1 ทั่วไป
ระบบบริหารคุณภาพขององค์กร ต้อง รวมถึง
😊เอกสารข้อมูลตามที่มาตรฐานสากลนี้กำหนด
😊เอกสารข้อมูลที่จำเป็นโดยองค์กรเอง เพื่อให้ระบบบริหารคุณภาพมีประสิทธิผล
7.5.2 การจัดทำและทำให้ทันสมัย(Creating and updating)
เมื่อจัดทำ หรือปรับปรุงเอกสารข้อมูลต่างๆ องค์กร ต้อง มั่นใจว่า
😊ได้รับการชี้บ่ง และให้คำอธิบาย (เช่น ชื่อเรื่อง วันที่ ผู้จัดทำ หรือเลขอ้างอิง)
😊รูปแบบ (เช่น ภาษา รุ่นของโปรแกรมสำเร็จรูป กราฟฟิค) และสื่อที่นำมาใช้ (เช่น กระดาษ ข้อมูลทางอิเลคทรอนิกส์)
😊ความเหมาะสม และความเพียงพอในการทบทวน และอนุมัติ
7.5.3 การควบคุมเอกสารข้อมูล (Control of documented information)
7.5.3.1 เอกสารข้อมูลที่ต้องการโดยระบบบริหารคุณภาพ และโดยมาตรฐานฉบับนี้ ต้อง ได้รับการควบคุม เพื่อให้มั่นใจว่า
😊พร้อมใช้และสะดวกต่อการนำมาใช้งาน
😊ได้รับการปกป้องอย่างเพียงพอ (เช่น ถูกเปิดเผยความลับ นำไปใช้ในทางที่ไม่เหมาะสม สูญเสียความสมบูรณ์ของเอกสาร)
7.5 เอกสารข้อมูล(Documented information)
7.5.3.2 สำหรับการควบคุมเอกสารข้อมูล องค์กร ต้อง ดำเนินการดังนี้ ตามความเหมาะสม
😊การแจกจ่าย การเข้าถึง การแก้ไข และนำมาใช้งาน
😊การจัดเก็บ และการดูแลรักษา รวมถึงคงความชัดเจน
😊การควบคุมการเปลี่ยนแปลง (เช่น การควบคุมฉบับที่)
😊ระยะเวลาการจัดเก็บ และการทำลาย
เอกสารข้อมูลที่ได้รับจากภายนอก ที่ถูกนำมาใช้ในองค์กรซึ่งจำเป็นต่อการวางแผน และดำเนินงานในระบบการบริหารคุณภาพ ต้องได้รับการชี้บ่งอย่างเหมาะสม และได้รับควบคุม เอกสารข้อมูลที่จัดเก็บไว้เป็นหลักฐาน ต้อง ป้องกันจากการถูกแก้ไข
ข้อกำหนดข้อ 8 Operation การดำเนินการ
8.1 การวางแผนและควบคุมการดำเนินการ
8.2 พิจารณาข้อกำหนดของผลิตภัณฑ์และบริการ
8.3 การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการ
8.4 การควบคุมการจัดหาสินค้าและบริการจากภายนอก
8.5 การผลิตและบริการ
8.6 การปล่อยผลิตภัณฑ์และบริการ
8.7 การควบคุมผลของกระบวนการ ผลิตภัณฑ์และบริการที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนด
8.1 การวางแผนและควบคุมการดำเนินการ(Operational planning and control)
😊เกณฑ์ในการควบคุมกระบวนการ
😊documented information ที่แสดงว่ากระบวนการเป็นไปตามแผนที่วางไว้
😊มีการควบคุมการเปลี่ยนแปลงที่มีผลต่อกระบวนการ
😊มีการควบคุม Outsourced process
8.2 พิจารณาข้อกำหนดของผลิตภัณฑ์และบริการ (Requirements for products and services)
8.2.1 การสื่อสารกับลูกค้า
😊ข้อมูลของผลิตภัณฑ์และบริการ
😊ข้อเสนอ ข้อตกลง หรือคำสั่งซื้อ รวมถึงการเปลี่ยนแปลง
😊มุมมองของลูกค้า รวมถึงคำร้องเรียนของลูกค้า
😊การจัดเก็บ หรือการดำเนินการต่อทรัพย์สินลูกค้า (ถ้ามี)
😊ข้อกำหนดเฉพาะกรณีการดำเนินการฉุกเฉิน
8.2.2 พิจารณาข้อกำหนดของสินค้าและบริการ
😊ข้อกำหนดของลูกค้า กฎหมาย กฎระเบียบต่างๆ รวมถึงสิ่งที่องค์กรกำหนดเอง
😊ความสามารถในการบรรลุข้อกำหนดเหล่านั้น และการยืนยันในข้อเรียกร้องสำหรับผลิตภัณฑ์และบริการที่นำเสนอ
😊การเคลมผลิตภัณฑ์และบริการ
8.2.3 พิจารณาข้อกำหนดของผลิตภัณฑ์และบริการ (Review of the requirements for products and services)
8.2.3.1 การทบทวนข้อกำหนดผลิตภัณฑ์และบริการ
องค์กร ต้อง มั่นใจว่า มีความสามารถในการดำเนินการให้เป็นไปตามข้อกำหนดของลูกค้า องค์กร ต้อง มีการทบทวนก่อนที่จะรับงานผลิตหรือบริการ รวมถึง
😊ข้อกำหนดต่างๆ ซึ่งระบุเจาะจงโดยลูกค้า รวมถึงข้อกำหนดต่างๆ สำหรับการส่งมอบและกิจกรรมหลังการส่งมอบผลิตภัณฑ์
😊ข้อกำหนดต่างๆ ที่ไม่ได้ระบุเจาะจงโดยลูกค้า แต่เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการนำไปใช้งาน (กรณีที่ทราบ)
😊กฎข้อบังคับและข้อกำหนดของกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์และบริการ
😊ข้อตกลง หรือคำสั่งซื้อที่แตกต่างจากที่ได้ระบุไว้ก่อนหน้านี้
😊ข้อตกลงหรือข้อกำหนดที่แตกต่างไปจากครั้งที่ผ่านๆ มา
😊องค์กร ต้อง มั่นใจว่าข้อตกลงหรือข้อกำหนดที่แตกต่างจากครั้งที่ผ่านมาได้รับการระบุ และแก้ไข
😊ข้อกำหนดของลูกค้า ต้อง ถูกยืนยันก่อนที่ยอมรับงาน กรณีลูกค้าไม่ได้จัดทำข้อกำหนดเป็นเอกสารไว้ให้
8.2.3.2 องค์กร ต้อง จัดเก็บ documented information
😊ผลของการทบทวนข้อกำหนดใหม่ของผลิตภัณฑ์และบริการ
8.2.4 พิจารณาข้อกำหนดของผลิตภัณฑ์และบริการ (Changes to requirements for products and services)
8.2.4 การเปลี่ยนแปลงข้อกำหนดของผลิตภัณฑ์และบริการ
😊องค์กร ต้อง มั่นใจว่า documented information ที่เกี่ยวข้องได้รับการแก้ไข และแจ้งข้อกำหนดที่เปลี่ยนแปลงไปยังบุคคลที่เกี่ยวข้อง กรณีที่ข้อกำหนดของผลิตภัณฑ์และบริการเปลี่ยนแปลงไป
8.3 การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการ (Design and development of products and services)
8.3.1 ทั่วไป
องค์กร ต้อง จัดตั้ง นำไปปฏิบัติ และรักษาไว้ซึ่งกระบวนการออกแบบและพัฒนา เพื่อให้มั่นใจในจัดทำผลิตภัณฑ์และบริการ
8.3.2 การวางแผนการออกแบบและพัฒนา
ในการกำหนดขั้นตอนและควบคุมการออกแบบและพัฒนา องค์กร ต้อง พิจารณา
😊ลักษณะ ระยะเวลา และความซับซ้อนของกิจกรรมการออกแบบและพัฒนา
😊ข้อกำหนดของการทวนสอบและยืนยันการออกแบบ
😊ความรับผิดชอบและอำนาจที่เกี่ยวกับกระบวนการออกแบบ
😊ความจำเป็นในการควบคุมการประสานงานระหว่างบุคคลและกลุ่มต่างๆ ในกระบวนการออกแบบ
😊ทรัพยากรทั้งภายในและภายนอกที่จำเป็น
😊ความจำเป็นในการมีส่วนร่วมของลูกค้าและกลุ่มผู้ใช้งานในกระบวนการออกแบบ
😊ข้อกำหนดของผลิตภัณฑ์และบริการ
😊ระดับการควบคุมของกระบวนการออกแบบและพัฒนาโดยลูกค้าหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
😊เอกสารที่จำเป็นของในการแสดงความสอดคล้องของข้อกำหนดด้านการออกแบบ
8.3.3 ปัจจัยนำเข้าในการออกแบบและพัฒนา
องค์กร ต้อง พิจารณาข้อกำหนดที่จำเป็นของผลิตภัณฑ์และบริการ โดยพิจารณา
😊ข้อกำหนดด้านหน้าที่และสมรรถนะ
😊ข้อมูลจากการออกแบบครั้งที่ผ่านๆ มาในลักษณะที่คล้ายๆ กัน
😊ข้อกำหนดด้านกฎหมาย และระเบียบต่างๆ
😊มาตรฐาน หรือหลักเกณฑ์ปฏิบัติขององค์กร
แนวโน้มความรุนแรง สำหรับผลิตภัณฑ์และบริการที่มีข้อบกพร่อง
ปัจจัยนำเข้า ต้อง เพียงพอต่อวัตถุประสงค์ มีความสมบูรณ์ และมีความชัดเจนในการออกแบบและพัฒนา
ปัจจัยนำเข้าที่มีความขัดแย้งกัน ต้อง ได้รับการแก้ไข
องค์กร ต้อง จัดเก็บ documented information ปัจจัยนำเข้าของการออกแบบและพัฒนา
8.3.4 การควบคุมการออกแบบและพัฒนา
องค์กร ต้อง ประยุกต์กระบวนการควบคุมการออกแบบและพัฒนา เพื่อมั่นใจว่า
😊ผลลัพธ์ที่จะบรรลุโดยกิจกรรมการออกแบบและพัฒนาได้ถูกกำหนดขึ้นอย่างชัดเจน
😊มีการวางแผนการทบทวน (review)การออกแบบและพัฒนา
😊มีการทวนสอบ (verification) เพื่อให้มั่นใจว่าผลของการออกแบบและพัฒนาได้ตามข้อกำหนดของปัจจัยนำเข้า
😊มีการยืนยัน (validation) เพื่อให้มั่นใจว่าผลลัพธ์ของผลิตภัณฑ์และบริการได้บรรลุตามข้อกำหนดที่ระบุไว้ หรือวัตถุประสงค์ในการใช้งาน
😊การดำเนินการที่จำเป็นกับปัญหาที่พบระหว่างการทบทวน ทวนสอบ และยืนยัน
😊เก็บรักษา documented information ของกิจกรรมเหล่านี้
8.3.5 ผลของการออกแบบและพัฒนา
องค์กร ต้อง มั่นใจว่าผลของการออกแบบและพัฒนา
😊บรรลุตามข้อกำหนดของปัจจัยนำเข้าของการออกแบบและพัฒนา
😊มีกระบวนการที่ตามมาอย่างเพียงพอ สำหรับการเตรียมการผลิตและให้บริการ
😊รวมถึงหรืออ้างอิงข้อกำหนดด้านการเฝ้าระวังและตรวจวัด และเกณฑ์การยอมรับ (ถ้ามี)
😊คุณลักษณะเฉพาะของผลิตภัณฑ์ที่จะผลิต หรือการให้บริการนั้น เป็นไปตามวัตถุประสงค์ และปลอดภัย และมีการใช้งานอย่างเหมาะสม
😊องค์กร ต้อง จัดเก็บ documented information สำหรับการออกแบบและพัฒนา
8.3.6 การเปลี่ยนแปลงการออกแบบและพัฒนา
องค์กร ต้อง ทบทวน ควบคุมและระบุการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยนำเข้า และผลของการออกแบบระหว่างขั้นตอนในการออกแบบและพัฒนา เพื่อให้ไม่มีผลกระทบกับข้อกำหนดด้านความสอดคล้อง
องค์กร ต้อง จัดเก็บ documented information ได้แก่
😊การเปลี่ยนแปลงการออกแบบและพัฒนา
😊ผลการจากการทบทวน
😊อำนาจในการเปลี่ยนแปลง
😊การดำเนินการเพื่อป้องกันผลกระทบที่ตรงข้าม
8.4 การควบคุมการจัดหาผลิตภัณฑ์และบริการจากภายนอก (Control of Externally provided processes, products and services)
8.4.1 ทั่วไป
องค์กร ต้อง มั่นใจว่าการจัดหากระบวนการ ผลิตภัณฑ์ และบริการจากแหล่งภายนอกจะเป็นไปตามข้อกำหนดที่ระบุไว้
องค์กร ต้อง ประยุกต์ข้อกำหนดที่ระบุไว้ สำหรับการควบคุมการจัดหาผลิตภัณฑ์และบริการจากภายนอก เมื่อ
😊ผลิตภัณฑ์และบริการจากแหล่งภายนอกนั้น จะกลายมาเป็นส่วนหนึ่งในผลิตภัณฑ์และบริการขององค์กร
😊ผลิตภัณฑ์และบริการจากแหล่งภายนอกนั้น จะส่งตรงไปยังลูกค้า โดยผู้บริการจากภายนอกในนามองค์กรของเรา
😊กระบวนการหรือส่วนหนึ่งของกระบวนการของผู้บริการจากภายนอกนั้น องค์กรตัดสินใจให้เป็นกระบวนการที่จะดำเนินการโดย outsource
องค์กร ต้อง จัดตั้ง และนำเกณฑ์ในการประเมิน คัดเลือก เฝ้าระวังสมรรถนะ และประเมินซ้ำ สำหรับผู้บริการจากภายนอกมาประยุกต์ใช้ ตามความสามารถของกระบวนการ ผลิตภัณฑ์ และบริการที่ได้ข้อกำหนดได้ระบุไว้
องค์กร ต้อง จัดเก็บ documented information 2 ของกิจกรรมเหล่านี้ และการดำเนินการที่จำเป็นจากผลการประเมิน
องค์กร ต้อง จัดตั้ง และนำเกณฑ์ในการประเมิน คัดเลือก เฝ้าระวังสมรรถนะ และประเมินซ้ำ สำหรับผู้บริการจากภายนอกมาประยุกต์ใช้ ตามความสามารถของกระบวนการ ผลิตภัณฑ์ และบริการที่ได้ข้อกำหนดได้ระบุไว้
องค์กร ต้อง จัดเก็บ documented information 2 ของกิจกรรมเหล่านี้ และการดำเนินการที่จำเป็นจากผลการประเมิน
8.4.2 ประเภทและขอบเขตการควบคุมผู้บริการจากภายนอก
องค์กร ต้อง มั่นใจว่ากระบวนการจัดหาจากภายนอก จะไม่มีผลกระทบต่อความสอดคล้องของผลิตภัณฑ์และบริการต่อลูกค้า
องค์กร ต้อง
😊กระบวนการจัดหาจากภายนอกอยู่ในระบบ QMS
😊ควบคุมทั้งการดำเนินการและผลลัพธ์ของผู้จัดหาจากภายนอก
😊พิจารณาแนวโน้มของผลกระทบ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง และประสิทธิผลของผู้จัดหาจากภายนอก
😊ทวนสอบ หรือกิจกรรมอื่นๆ ที่จำเป็น เพื่อมั่นใจว่ากระบวนการของผู้จัดหาจากภายนอกเป็นไปตามข้อกำหนด
8.4.3 ข้อมูลสำหรับผู้บริการจากภายนอก
องค์กร ต้อง สื่อสารข้อกำหนดต่างๆ ต่อผู้บริการจากภายนอก ในเรื่องต่อไปนี้
😊กระบวนการ ผลิตภัณฑ์และบริการที่จัดหา
😊การอนุมัติหรือตรวจปล่อยผลิตภัณฑ์และบริการ วิธีการ กระบวนการ และเครื่องมือ
😊ความสามารถของบุคลากร รวมถึงคุณสมบัติที่จำเป็น
😊ความสัมพันธ์กับ QMS ขององค์กร
😊การควบคุมและเฝ้าระวังสมรรถนะของผู้บริการจากภายนอกโดยองค์กร
😊กิจกรรมการทวนสอบขององค์กร หรือของลูกค้า ณ สถานที่ของผู้บริการภายนอก
8.5 การผลิตและการให้บริการ (Production and service provision)
8.5.1 การควบคุมการผลิตและการให้บริการ
องค์กร ต้อง ดำเนินการผลิตและการให้บริการ ภายใต้การควบคุม
การควบคุม ต้อง รวมถึง (ตามความเหมาะสม)
😊การนำ documented & information ที่กำหนดคุณลักษณะของผลิตภัณฑ์และบริการมาใช้ และผลลัพธ์ที่ต้องการให้บรรลุ
😊ทรัพยากรที่ใช้ในการเฝ้าระวังและตรวจวัด
😊กิจกรรมการเฝ้าระวังและตรวจวัด ณ ขั้นตอนที่เหมาะสมที่จะทวนสอบเกณฑ์ในการควบคุมกระบวนการและผลของกระบวนการ และเกณฑ์การยอมรับผลิตภัณฑ์และบริการที่ต้องการ
😊การใช้ และควบคุมโครงสร้างพื้นฐานและสภาพแวดล้อมของกระบวนการที่เหมาะสม
😊การแต่งตั้งบุคลากรที่มีความสามารถ รวมถึงได้ตามคุณสมบัติที่ต้องการ
😊ยืนยัน และยืนยันซ้ำ สำหรับความสามารถที่จะบรรลุผลลัพธ์ตามแผนในการผลิตและให้บริการ ในกรณีที่ผลลัพธ์ไม่สามารถทวนสอบได้ด้วยการเฝ้าระวังและตรวจวัด
😊ดำเนินการในการป้องกัน Human error
😊ดำเนินการตรวจปล่อยผลิตภัณฑ์และบริการ ส่งมอบ และกิจกรรมหลังการส่งมอบ
8.5.2 การชี้บ่งและสอบกลับได้
😊ในกรณีที่จำเป็นเพื่อความมั่นใจในความสอดคล้องของผลิตภัณฑ์และบริการ องค์กร ต้อง ใช้รูปแบบการชี้บ่งผลของกระบวนการที่เหมาะสม
😊องค์กร ต้อง ชี้บ่งสถานะของผลของกระบวนการตามข้อกำหนดในการเฝ้าระวังและตรวจวัดตลอดช่วงการผลิตและให้บริการ
😊หากมีข้อกำหนดในการสอบกลับได้ องค์กร ต้อง ควบคุมการชี้บ่งที่เป็นลักษณะเฉพาะของผลของกระบวนการนั้นไว้และเก็บรักษา documented & information ที่จำเป็นต่อการสอบกลับ
8.5.3 ทรัพย์สินของลูกค้าและผู้บริการภายนอก
😊องค์กร ต้อง ระวังรักษาทรัพย์สินของลูกค้าหรือผู้บริการภายนอก ขณะที่ทรัพย์สินนั้นอยู่ในความควบคุมหรือถูกนำไปใช้โดยองค์กร
😊องค์กร ต้อง ชี้บ่ง ทวนสอบ ป้องกันและรักษาทรัพย์สินของลูกค้าหรือผู้บริการภายนอกที่จัดหามาให้เพื่อใช้งานหรือเพื่อเป็นส่วนประกอบเข้ากับผลิตภัณฑ์และบริการ
😊หากทรัพย์สินของลูกค้าหรือผู้บริการภายนอกถูกใช้อย่างไม่ถูกต้อง สูญหาย ได้รับความเสียหายหรือพบว่าไม่เหมาะสมสำหรับการนำไปใช้ องค์กร ต้อง รายงานให้ลูกค้าหรือผู้บริการภายนอกทราบ และเก็บ documented & information
8.5.4 การถนอมรักษา
องค์กร ต้อง มั่นใจในการถนอมรักษาผลของกระบวนการในระหว่างทำการผลิตหรือให้บริการ เพื่อให้ยังคงความสอดคล้องกับข้อกำหนด
8.5.5 กิจกรรมหลังการส่งมอบ
องค์กร ต้อง บรรลุข้อกำหนดของกิจกรรมหลังการส่งมอบที่สัมพันธ์กับผลิตภัณฑ์และบริการ
การพิจารณาขอบข่ายของกิจกรรมหลังการส่งมอบ องค์กร ต้อง มองถึง
😊ข้อกำหนดของกฎหมายและข้อบังคับ
😊แนวโน้มที่ไม่พึงประสงค์ที่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และบริการ
😊ลักษณะ การใช้งาน ช่วงอายุของผลิตภัณฑ์และบริการ
😊ข้อกำหนดของลูกค้า
😊ข้อสะท้อนกับจากลูกค้า
8.5.6 การควบคุมการเปลี่ยนแปลง
องค์กร ต้อง ทบทวนและควบคุมการเปลี่ยนแปลงต่อสิ่งที่ไม่ได้คาดคิดที่มีผลอย่างมีนัยสำคัญต่อการผลิตหรือการให้บริการ เพื่อให้มั่นใจในความต่อเนื่องต่อความสอดคล้องกับข้อกำหนด
องค์กร ต้อง จัดเก็บ documented & information ที่ระบุผลในการทบทวนการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนบุคคลผู้มีอำนาจ และการดำเนินการที่จำเป็นต่างๆ
8.6 การปล่อยผลิตภัณฑ์และบริการ (Release of products and services)
😊องค์กร ต้อง ปฏิบัติตามแผนที่เตรียมไว้ สำหรับการทวนสอบการบรรลุตามข้อกำหนดของผลิตภัณฑ์และบริการ ณ ขั้นตอนที่เหมาะสม หลักฐานความสอดคล้องกับเกณฑ์การยอมรับ ต้อง ถูกจัดเก็บ
😊การปล่อยผลิตภัณฑ์และบริการแก่ลูกค้า ต้อง ยังไม่มีการดำเนินการจนกว่าการเตรียมการต่างๆ ที่วางแผนไว้เสร็จสมบูรณ์เป็นที่พอใจแล้ว เว้นแต่ได้รับอนุมัติโดยผู้มีอำนาจที่เกี่ยวข้องและ (กรณีที่ทำได้) โดยลูกค้า
😊documented information ต้อง สามารถสอบกลับไปยังบุคคลผู้มีอำนาจปล่อยผลิตภัณฑ์และบริการ ที่ได้ส่งมอบไปยังลูกค้า รวมถึง
😊หลักฐานความสอดคล้องกับเกณฑ์การยอมรับ
😊การสอบกลับไปยังบุคคลที่มีอำนาจปล่อย
8.7 การควบคุมผลของกระบวนการ, ผลิตภัณฑ์และบริการที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนด (Control of nonconforming outputs)
8.7.1 องค์กร ต้อง มั่นใจว่าผลของกระบวนการ ผลิตภัณฑ์และบริการที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนดได้รับการชี้บ่งและควบคุมเพื่อป้องกันการนำไปใช้งาน หรือการจัดส่งโดยไม่ได้ตั้งใจ
องค์กร ต้อง ดำเนินการปฏิบัติการแก้ไขที่เหมาะสมกับลักษณะของข้อบกพร่องและผลกระทบกับความสอดคล้องของผลิตภัณฑ์และบริการ การดำเนินการนี้รวมถึงเมื่อผลิตภัณฑ์ที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนดถูกตรวจพบหลังจากส่งมอบไปแล้ว หรือระหว่างการให้บริการ
😊องค์กร ต้อง จัดการกับผลของกระบวนการ, ผลิตภัณฑ์และบริการที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนดโดยวิธีการหนึ่งหรือหลายวิธีดังต่อไปนี้ โดย
😊ดำเนินการแก้ไข
😊คัดแยก กัก เรียกคืน หรือสั่งระงับการผลิต หรือการบริการ
😊แจ้งลูกค้า
😊ตัดสินใจโดยผู้มีอำนาจโดยการ
😊ใช้ตามสภาพ
😊ปล่อย, ดำเนินการต่อ หรือนำกลับมาผลิตหรือให้บริการ
😊ยอมรับภายใต้ยินยอม
😊ความสอดคล้องต่อข้อกำหนด ต้อง ทวนสอบ เมื่อผลความไม่สอดคล้องถูกแก้ไขแล้ว
8.7.2 องค์กร ต้อง จัดเก็บ documented & information โดยแสดง
😊ลักษณะของข้อบกพร่อง
😊การดำเนินการกับลักษณะของข้อบกพร่อง
😊การยินยอม
😊ผู้มีอำนาจที่ได้ตัดสินใจต่อข้อบกพร่องนั้น
ข้อกำหนดข้อ 9 Performance Evaluation การประเมินสมรรถนะ
9.1 การเฝ้าระวัง ตรวจวัด วิเคราะห์และประเมิน
9.2 การตรวจติดตามภายใน
9.3 การทบทวนของฝ่ายบริหาร
9.1 การเฝ้าระวัง ตรวจวัด วิเคราะห์และประเมิน (Monitoring, measurement, analysis and evaluation)
9.1.1 ทั่วไป
องค์กร ต้อง กำหนด
😊อะไรคือสิ่งจำเป็นในการเฝ้าระวังและตรวจวัด
😊วิธีสำหรับการเฝ้าระวัง ตรวจวัด วิเคราะห์ และประเมิน (ตามความเหมาะสม) เพื่อความมั่นใจในผลที่ถูกต้อง
😊เมื่อใดที่ต้องเฝ้าระวังและตรวจวัด
😊เมื่อใดที่ผลของการเฝ้าระวังและตรวจวัดต้องถูกวิเคราะห์และประเมิน
องค์กร ต้องประเมินสมรรถนะด้านคุณภาพและประสิทธิผลของ QMS (ระบบบริหารงานคุณภาพ)
องค์กร ต้อง จัดเก็บ documented information ที่เหมาะสมไว้เป็นหลักฐาน
9.1.2 ความพึงพอใจลูกค้า
องค์กร ต้อง เฝ้าติดตามข้อมูลเกี่ยวกับการรับรู้เข้าใจของลูกค้าว่าองค์กรได้บรรลุถึงความต้องการต่างๆ ของลูกค้าแล้วหรือไม่
องค์กร ต้อง กำหนดวิธีการที่ได้มาซึ่งข้อมูลและการนำข้อมูลนี้ไปใช้
9.1.3 การวิเคราะห์และประเมิน
องค์กร ต้อง วิเคราะห์และประเมินข้อมูลและสารสนเทศที่เหมาะสมที่ได้รับจาการการเฝ้าระวัง ตรวจวัดและแหล่งอื่นๆ
ผลจากการวิเคราะห์และประเมิน ต้อง ถูกใช้สำหรับ
😊แสดงความสอดคล้องกับข้อกำหนดของผลิตภัณฑ์และบริการ
😊ประเมินและเพิ่มพูนความพึงพอใจลูกค้า
😊มั่นใจในความสอดคล้องและประสิทธิผลของ QMS (ระบบบริหารงานคุณภาพ)
😊แสดงถึงแผนที่ได้วางไว้ประสบความสำเร็จ
😊ประเมินสมรรถนะของกระบวนการ
😊ประเมินสมรรถนะของผู้บริการภายนอก
😊ประเมินความจำเป็นหรือโอกาสในการปรับปรุงภายใน QMS (ระบบบริหารงานคุณภาพ)
หมายเหตุ วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลสามารถรวมถึงกลวิธีทางสถิติ
9.2 การตรวจประเมินภายใน (Internal audit)
9.2.1 องค์กร ต้อง ดำเนินการตรวจประเมินภายในตามช่วงเวลาที่กำหนด เพื่อเป็นข้อมูลว่าระบบบริหารคุณภาพ
เป็นไปตาม
😊ข้อกำหนดขององค์กรเองตาม QMS (ระบบบริหารงานคุณภาพ)
😊ข้อกำหนดของมาตรฐานสากลฉบับนี้
ได้มีการนำไปปฏิบัติและรักษาระบบไว้อย่างมีประสิทธิผล
9.2.2 องค์กร ต้อง
😊วางแผน จัดตั้ง นำไปปฏิบัติ และรักษาไว้ซึ่งโปรแกรมการตรวจ รวมถึงความถี่ วิธีการ ผู้รับผิดชอบ ข้อกำหนดด้านการวางแผนและรายงาน ซึ่ง ต้อง มีการพิจารณาวัตถุประสงค์คุณภาพ ความสำคัญของความเกี่ยวข้องของกระบวนการ ข้อมูลสะท้อนกลับจากลูกค้า ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงในองค์กร และผลของการตรวจติดตามครั้งที่ผ่านมา
😊กำหนดเกณฑ์การตรวจประเมินและขอบข่ายของการตรวจ
😊การคัดเลือกผู้ตรวจและมั่นใจว่าการตรวจเป็นไปตามวัตถุประสงค์ และเป็นกระบวนการตรวจที่ไม่เอนเอียง
มั่นใจว่าผลการตรวจมีการรายงานสู่ผู้บริหาร
😊ระบุความจำเป็นในการแก้ไขและปฏิบัติการแก้ไขโดยไม่ชักช้า
😊จัดเก็บ documented information ไว้เป็นหลักฐาน สำหรับโปรแกรมการตรวจและผลของการตรวจ
9.3 การทบทวนของฝ่ายบริหาร (Management review)
9.3.1 ทั่วไป
ผู้บริหารสูงสุด ต้อง ทบทวน QMS (ระบบบริหารงานคุณภาพ) ขององค์กรตามช่วงเวลาที่ได้วางแผนไว้ เพื่อให้มั่นใจถึงการคงความเหมาะสม ความพอเพียง และความมีประสิทธิผล
9.3.2 ปัจจัยเข้าในการทบทวนของฝ่ายบริหาร
การทบทวน ต้อง เป็นไปตามแผนที่วางไว้และทำการพิจารณา
😊สถานะของการดำเนินการจากการทบทวนของครั้งที่ผ่านมา
😊การเปลี่ยนแปลงมุมมองทั้งจากภายนอกและภายในเกี่ยวกับ QMS (ระบบบริหารงานคุณภาพ)รวมถึงทิศทางเชิงกลยุทธ์
😊ข้อมูลสมรรถนะด้านคุณภาพ รวมถึงแนวโน้มและตัวชี้วัดจาก
😊ความพึงพอใจลูกค้าและผลสะท้อนกลับจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
😊วัตถุประสงค์คุณภาพ
😊สมรรถนะของกระบวนการและความสอดคล้องของผลิตภัณฑ์และบริการ
😊ความไม่สอดคล้องและการปฏิบัติการแก้ไข
😊ผลของการเฝ้าระวังและตรวจวัด
😊ผลจากการตรวจประเมิน
😊สมรรถนะของผู้จัดหาจากภายนอก
😊ความเพียงพอของทรัพยากร
😊ประสิทธิผลของการดำเนินการต่อความเสี่ยงและโอกาส
😊โอกาสในการปรับปรุง
9.3.3 ผลของการทบทวนฝ่ายบริหาร
ผลจากการทบทวนของฝ่ายบริหาร ต้อง รวมถึงการตัดสินใจและดำเนินการ
😊โอกาสในการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
😊ความจำเป็นในการเปลี่ยนแปลง QMS (ระบบบริหารงานคุณภาพ) รวมถึงทรัพยากรที่จำเป็น
😊ทรัพยากรที่จำเป็น
😊องค์กร ต้อง จัดเก็บ documented information เพื่อเป็นหลักฐานในผลของการทบทวนฝ่ายบริหาร
ข้อกำหนดข้อ 10 Improvement การปรับปรุง
10.1 ทั่วไป
10.2 ความไม่สอดคล้องและการปฏิบัติการแก้ไข
10.3 การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
10.1 องค์กร ต้อง กำหนดและเลือกโอกาสในการปรับปรุงและดำเนินการที่จำเป็นเพื่อบรรลุข้อกำหนดของลูกค้าและเพิ่มพูนความพึงพอใจลูกค้า
การดำเนินการนี้ ต้อง รวมถึง
😊การปรับปรุงผลิตภัณฑ์และบริการที่จะบรรลุข้อกำหนดที่ทราบและที่คาดการณ์
😊แก้ไข ป้องกัน และลดสิ่งที่ไม่พึงประสงค์
😊ปรับปรุงผลของ QMS (ระบบบริหารงานคุณภาพ)
หมายเหตุ ตัวอย่างของการปรับปรุง เช่น การแก้ไข การปฏิบัติการแก้ไข การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง การเปลี่ยนแปลง นวัตกรรม และการปรับองค์กร
10.2 ความไม่สอดคล้องและการปฏิบัติการแก้ไข (Nonconformity and corrective action)
10.2.1 เมื่อความไม่สอดคล้องปรากฏขึ้น รวมถึงได้รับจากข้อร้องเรียน
องค์กร ต้อง
😊ดำเนินการต่อความไม่สอดคล้องนั้น และ ถ้าทำได้
😊ดำเนินการควบคุมและแก้ไข
😊จัดการต่อความรุนแรงที่จะเกิด
😊ประเมินความจำเป็นในการขจัดสาเหตุของความไม่สอดคล้อง เพื่อมิให้เกิดซ้ำ โดย
😊ทบทวนความไม่สอดคล้อง
😊พิจารณาสาเหตุของความไม่สอดคล้อง
😊พิจารณาความไม่สอดคล้องที่คล้ายคลึงกันที่อาจมีอยู่ หรือมีแนวโน้มเกิดขึ้น
😊ดำเนินการจัดการ
😊ทบทวนประสิทธิผลของการปฏิบัติการแก้ไข
😊ทำการปรับปรุงความเสี่ยงและโอกาสให้ทันสมัย (ตามความเหมาะสม)
😊ปรับเปลี่ยน QMS (ระบบบริหารงานคุณภาพ) ตามความเหมาะสม
การปฏิบัติการแก้ไข ต้อง เหมาะสมกับความไม่สอดคล้องที่เกิด
10.2.2 องค์กรต้อง จัดเก็บ documented information เพื่อเป็นหลักฐานแสดง
😊ลักษณะความไม่สอดคล้องและการดำเนินการที่ทำไป
😊ผลลัพธ์ของการปฏิบัติการแก้ไข
10.3 การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง (Continual improvement)
องค์กร ต้อง มีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ที่เหมาะสม เพียงพอ และมีประสิทธิผลต่อ QMS (ระบบบริหารงานคุณภาพ)
องค์กร ต้อง พิจารณาผลจากการวิเคราะห์และประเมิน และผลจากการทบทวนของฝ่ายบริหาร ในการพิจารณาความจำเป็น หรือโอกาสในการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง